วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2560

วัตถุโบราณ




                                ความหมายและความเป็นมาของคำว่า “โบราณวัตถุ” 
คำว่า “โบราณวัตถุ” ถือได้ว่าเป็นคำที่อยู่ควบคู่กับคำว่าโบราณสถานเสมอ ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2493 ได้ให้ความหมายของคำว่าโบราณวัตถุ ไว้ว่าหมายถึง “ของโบราณ” แต่ความหมายดังกล่าวก็เปลี่ยนไปตามที่ปรากฏในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้ความหมายไว้ว่า “สิ่งของโบราณที่เคลื่อนที่ได้ เช่น พระพุทธรูป เทวรูป ศิลาจารึก มีอายุเก่ากว่า 100 ปี ขึ้นไป “ พร้อมทั้งให้ความหมายทางกฎหมายไว้ด้วยว่า “สังหาริมทรัพย์ที่เป็นของโบราณ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งประดิษฐ์ หรือเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ หรือที่เป็นส่วนหนึ่งส่วนใดของโบราณสถาน ซากมนุษย์ หรือซากสัตว์ ซึ่งโดยอายุหรือโดยลักษณะแห่งการประดิษฐ์ หรือโดยหลักฐานเกี่ยวกับประวัติของสังหาริมทรัพย์นั้นเป็นประโยชน์ ในทางศิลป ประวัติศาสตร์ หรือโบราณคดี” ซึ่งความหมายดังกล่าวก็ยังใช้อยู่ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542

เมื่อเปรียบเทียบความหมายของคำว่าโบราณวัตถุตามพจนานุกรมแล้วจะเห็นวิวัฒนาการของคำนี้อย่างหนึ่งว่าในปี พ.ศ. 2525 ได้นำเรื่องการเคลื่อนที่ได้หรือไม่ และสิ่งของต้องมีอายุเก่ากว่า 100 ปีขึ้นไป มาเป็นเกณฑ์พิจารณาว่าสิ่งใดคือโบราณวัตถุ ซึ่งหลักการดังกล่าวสอดคล้องกับความหมายของคำว่าโบราณสถานที่ต้องเป็นสิ่งที่เคลื่อนที่ไม่ได้ มีอายุเก่ากว่า 100 ปีขึ้นไป เช่นเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีการให้ความหมายในทางกฎหมายไว้ในพจนานุกรมอีกด้วย

สำหรับคำจำกัดความเฉพาะที่ใช้ในบทบัญญัติของกฎหมายปรากฏนิยามคำว่า “โบราณวัตถุ” ครั้งแรกในพระราชบัญญัติว่าด้วยการส่งโบราณและศิลปวัตถุออกนอกประเทศ พุทธศักราช 2469 ซึ่งให้หมายความว่า “สังหาริมทรัพย์โบราณอย่างหนึ่งอย่างใดจะเป็นของเกิดในประเทศนี้เองก็ดี ฤาได้มาจากประเทศอื่นก็ดี ซึ่งเป็นประโยชน์ให้ความรู้ฤาประโยชน์แก่การศึกษาในทางพงศาวดารและโบราณคดี” ก่อนหน้านี้มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับโบราณวัตถุแต่ยังมิได้ใช้คำว่าโบราณวัตถุโดยตรงแต่ใช้คำว่าของโบราณ

ทั้งนี้ ตามที่ปรากฏในประกาศจัดการตรวจรักษาของโบราณ พุทธศักราช 2466 ต่อมามีการบัญญัตินิยามคำว่าโบราณวัตถุใหม่โดยพระราชบัญญัติว่าด้วยโบราณสถาน ศิลปวัตถุ โบราณวัตถุ และการพิพิธภัณฑ์แห่งชาติ พุทธศักราช 2477 ได้นิยามคำว่าโบราณวัตถุไว้ หมายความว่า “ของโบราณอย่างหนึ่งอย่างใด จะเป็นของเกิดในประเทศสยามหรือต่างประเทศก็ดี ซึ่งให้ความรู้หรือเป็นประโยชน์แก่การศึกษาในทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี” และในปี พ.ศ. 2504 นิยามคำว่า “โบราณวัตถุ” ก็มีการเปลี่ยนแปลงอีกครั้งหนึ่ง โดยพระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 ได้กำหนดให้หมายความว่า “สังหาริมทรัพย์ที่เป็นของโบราณ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งประดิษฐ์หรือเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ หรือที่เป็นส่วนหนึ่งส่วนใดของโบราณสถาน ซากมนุษย์หรือ ซากสัตว์ ซึ่งโดยอายุหรือโดยลักษณะแห่งการประดิษฐ์หรือโดยหลักฐานเกี่ยวกับประวัติของสังหาริมทรัพย์นั้นเป็นประโยชน์ในทางศิลป ประวัติศาสตร์หรือโบราณคดี” ซึ่งเป็นความหมายที่ใช้มาจนกระทั่งปัจจุบันนี้

ความหมายของคำว่า “โบราณวัตถุ” มีส่วนคล้ายคลึงกับคำว่า “โบราณสถาน” ตรงที่มุ่งไปที่ศาสตร์ด้านศิลป ประวัติศาสตร์ หรือโบราณคดี แต่ที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนก็คือ “โบราณสถาน” กฎหมายกำหนดไว้ว่าเป็นอสังหาริมทรัพย์ ส่วน “โบราณวัตถุ” นั้นกฎหมายกำหนดว่าเป็นสังหาริมทรัพย์ ดังนั้น ของบางอย่างแม้เดิมเคยเป็นส่วนหนึ่งส่วนใดของโบราณสถานแต่เมื่อหลุดหรือแยกจากโบราณสถาน ก็อาจจะกลายเป็นโบราณวัตถุได้
 ในยุคที่ความเจริญทางเทคโนโลยีดำเนินไปอย่างไม่มีวันจบสิ้น เครื่องใช้บางอย่างซื้อมาได้เพียงไม่กี่เดือนก็เริ่มจะกลายเป็นของเก่า เพราะมีสินค้ารุ่นใหม่ออกมาแทนที่ อย่างเช่นโทรศัพท์พึ่งซื้อมาใช้งานได้เพียงไม่กี่เดือนก็มีรุ่นใหม่ออกมาแทนที่แล้ว ทั้งๆที่เครื่องเก่าก็ยังพอใช้งานได้ แต่กลับกลายเป็นสิ่งที่กำลังล้าสมัย  ในขณะที่สิ่งของบางอย่างยิ่งมีอายุมาก ยิ่งเก่าแก่มากเท่าไหร่กลับยิ่งมีคุณค่า เชนโบราณวัตถุ โบราณสถานเป็นต้นยิ่งเก่ายิ่งมีคุณค่า บางอย่างประเมินค่ามิได้
          ช่วงหลังๆมานี้เริ่มให้ความสนใจกับการชมโบราณวัตถุ โบราณสถานมากขึ้น ไม่รู้ว่าเพราะอายุมากขึ้นหรือว่าเพราะว่าเริ่มเดินทางไกลไปมาหลายที่ สิ่งที่พบเห็นและมักจะเป็นสิ่งที่เชิดชูและสะท้อนความเป็นเอกลักษณ์ของชาติบ้านเมืองมักจะเป็นวัตถุโบราณ ยิ่งมีอายุมากเท่าไหร่ยิ่งมีคุณค่ามาก และราคาก็มากขึ้นตามไปด้วย บางครั้งเดินทางไกลหลายพันไมล์เพื่อต้องการจะไปดูวัตถุโบราณ ซึ่งเป็นของหายาก มีคุณค่าทางศิลปะสะท้อนถึงวัฒนธรรมของชาติในอดีต คนเริ่มแก่ก็ยิ่งชอบของเก่า คนแก่จึงเป็นเหมือนวัตถุโบราณในสังคมแห่งความเจริญทางเทคโนโลยี
          ประเทศไทยหากนับโดยความเป็นประเทศชาติน่าจะเริ่มต้นที่อาณาจักรสุโขทัยซึ่งมีอายุประมาณ 700 กว่าปีมาแล้ว แต่ทว่าหากจะนับถึงความเป็นพื้นที่โดยไม่มีความเป็นชาติเข้ามาเกี่ยวข้องแล้ว ก็ต้องมีอายุหลายพันปี เช่นแหล่งโบราณบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี มีอายุเจ็ดพันปี ยังมีอีกหลายแห่งที่มีการสร้างศิลปะไว้ตั้งแต่อาณาจักรทวารวดี ศรีวิชัย เชียงแสน เจนละ ลพบุรี เป็นต้น นั่นก็มีอายุหลายพันปี

 โบราณสถาน โบราณวัตถุ ยังมีปรากฏหลักฐานให้สืบค้นได้ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พระนคร ได้จัดนิทรรศการแสดงโบราณวัตถุขึ้น ในช่วงเดือนตุลาคม 2558 มีคนมาชวนไปเยี่ยมชมแบบไม่เป็นทางการ นัยว่าเพื่อศึกษาศิลปวัตถุที่นำมาจากทั่วทุกภาคของประเทศไทย จัดแสดงให้ประชาชนได้ศึกษาถึงศิลปะเหล่านั้น
          หลายวันก่อนออกเดินทางได้ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับเรื้องโบราณบ้าง เพราะเกิดความสงสัยว่าคำว่า “โบราณวัตถุและโบราณสถาน” มันคืออะไรกันแน่
          คำว่า “โบราณวัตถุ” มักจะเป็นคำที่ใช้ควบคู่กับคำว่าโบราณสถาน ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2493 ได้ให้ความหมายของคำว่าโบราณวัตถุ ไว้ว่าหมายถึง “ของโบราณ”(พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2493, ราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3 2502 หน้า 551.) แต่ความหมายดังกล่าวก็เปลี่ยนไปตามที่ปรากฏในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้ความหมายไว้ว่า “สิ่งของโบราณที่เคลื่อนที่ได้ เช่น พระพุทธรูป เทวรูป ศิลาจารึก มีอายุเก่ากว่า 100 ปี ขึ้นไป (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525, ราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 5 2538 หน้า 491) “ พร้อมทั้งให้ความหมายทางกฎหมายไว้ด้วยว่า “สังหาริมทรัพย์ที่เป็นของโบราณ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งประดิษฐ์ หรือเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ หรือที่เป็นส่วนหนึ่งส่วนใดของโบราณสถาน ซากมนุษย์ หรือซากสัตว์ ซึ่งโดยอายุหรือโดยลักษณะแห่งการประดิษฐ์ หรือโดยหลักฐานเกี่ยวกับประวัติของสังหาริมทรัพย์นั้นเป็นประโยชน์ในทางศิลป ประวัติศาสตร์ หรือโบราณคดี” ซึ่งความหมายดังกล่าวก็ยังใช้อยู่ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542, ราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 1 2546 หน้า 642)



                                                          ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เนื้อหาวัตถุโบราณ



เนื้อหาแหล่งที่มา /https://janthimablog.wordpress.com











































































วันพุธที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2560

การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศนำเสนองาน


  หลักการนำเสนอข้อมูลและสร้างสื่อนำเสนอ การนำเสนองานหรือผลงานนั้นสื่อนำเสนอเปรียบเสมือนสะพานเชื่อมเนื้อหา ของผู้บรรยายไปยังผู้ฟังและผู้ชม ดังนั้นสื่อจึงมีบทบาทสำคัญอย่างมาก สื่อที่ดี จะช่วยให้การถ่ายทอดเนื้อหาสาระทำได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น ผู้ฟังและผู้ชมจะสามารถ จดจำเนื้อหาสาระได้นานและเข้าใจในเนื้อหาได้ดีมากขึ้น ความหมายการนำเสนอ การนำเสนอข้อมูล หมายถึง การสื่อสารเพื่อเสนอข้อมูล ความรู้ ความคิดเห็น หรือความต้องการไปสู่ผู้ชม ผู้ฟังโดยใช้เทคนิคหรือวิธีการต่าง ๆ อันจะทำให้บรรลุ ผลสำเร็จตามจุดมุ่งหมายของการนำเสนอ

จุดมุ่งหมายในการนำเสนอ
1. เพื่อให้ผู้ชม ผู้ฟังรับเข้าใจสาระสำคัญของการนำเสนอข้อมูล
2. ให้ผู้ชม ผู้ฟังเกิดความประทับใจและนำไปสู่ความเชื่อถือในข้อมูลที่นำเสนอ
การนำเสนอผลงานโดยใช้สื่อโสตทัศนูปกรณ์ มีผลในทางจิตวิทยาการเรียนรู้ ซึ่งได้มีการ ค้นพบจากการวิจัยว่าการรับรู้ข้อมูลโดยผ่านทางประสาทสัมผัสสองอย่าง คือ ตา และหูพร้อมกันนั้น ทำให้เกิดการรับรู้ที่ดีกว่าส่งผลในด้านความสามารถในการจดจำได้มากกว่าการรับรู้โดยผ่านตา หรือ หูอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียว จึงได้มีการพัฒนาสื่อโสตทัศนูปกรณ์รูปแบบต่าง ๆ ขึ้นมาใช้งาน โดยเฉพาะสื่อประสม
หลักการพื้นฐานของการนำเสนอผลงาน มีจุดเน้นสำคัญดังนี้
1) การดึงดูดความสนใจ
     โดยการออกแบบให้สิ่งที่ปรากฏต่อสายตานั้นชวนมอง และมีความสบายตาสบายใจขึ้น เมื่อชมการนำเสนอ ดังนั้นการเลือกองค์ประกอบต่าง ๆ เช่น สีพื้น แบบ สี และขนาดของตัวอักษร รูปประกอบ ต้องเหมาะสม สวยงาม
2) ความชัดเจนและความกระชับของเนื้อหา
     ส่วนที่เป็นข้อความต้องสั้นแต่ได้ใจความชัดเจน ส่วนที่เป็นภาพประกอบต้องมีส่วนสัมพันธ์อย่างสร้างสรรค์กับข้อความที่ต้องการสื่อความหมาย การใช้ภาพประกอบ มีประโยชน์มาก ดังคำพังเพยภาษาอังกฤษที่ว่า "A picture is worth a thousand words" หรือ "ภาพภาพหนึ่งนั้นมีค่าเทียบเท่ากับคำพูดหนึ่งพันคำ"  แต่ประโยคนี้คงไม่เป็นจริงหากภาพนั้นไม่มีความสัมพันธ์ อย่างสร้างสรรค์กับความหมายที่ต้องการสื่อ ดังนั้นก่อนที่จะตัดสินใจใช้ภาพใดประกอบ จึงควรตอบคำถาม ให้ได้เสียก่อนว่าต้องการใช้ภาพเพื่อสื่อความหมายอะไรและภาพที่เลือกมานั้นสามารถทำหน้าที่สื่อความหมายเช่นนั้นจริงหรือไม่
3) ความเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย
     การสร้างจุดเน้นตามข้อ 1 และ 2 ข้างต้นต้องคำนึงถึงกลุ่มเป้าหมายด้วย เช่น กลุ่มเป้าหมายเป็นเด็ก การใช้สีสด ๆ และภาพการ์ตูนมีความเหมาะสม แต่ถ้ากลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ใหญ่และเนื้อหาที่นำเสนอเป็นเรื่องวิชาการหรือธุรกิจ การใช้สีสันมากเกินไปและการใช้รูปการ์ตูนอาจทำให้ดูไม่น่าเชื่อถือเพราะขาดภาพลักษณ์ของการเอาจริงเอาจังไป
หลักการเลือกใช้ซอฟต์แวร์สำเร็จรูปเพื่อการนำเสนองาน
พรพิมล  อรัญเวศ ได้เสนอหลักการเลือกซอฟต์แวร์ และหลักการนำเสนอผลงานโดยใช้ซอฟต์แวร์ไว้ ดังนี้
1) ทำความเข้าใจกับงานที่เราต้องการนำเสนอ
     ก่อนการเลือกระบบสารสนเทศมาใช้ในการนำเสนองานนั้น เราต้องเข้าใจถึงลักษณะงานที่เราต้องการนำเสนอก่อนว่า เป็นงานในลักษณะใด เช่น เป็นข้อความ หรือมีการคำนวณหรือเป็นงานที่เกี่ยวกับการค้น การเก็บรักษาข้อมูล เพื่อเป็นแนวทางในการเลือกระบบสารสนเทศที่เหมาะสมกับงานนั้น ๆ 
2) เลือกโปรแกรมสำเร็จรูปมาใช้
     เมื่อทราบลักษณะของงานที่ต้องการนำเสนอแล้ว เราจะเลือกระบบสารสนเทศที่เหมาะสมกับการนำเสนองานนั้น งานบางอย่างเราอาจใช้ระบบสารสนเทศในการนำเสนอได้หลายอย่าง เราอาจต้องเลือกว่าจะใช้ระบบใด  ผู้ใช้ต้องมีความเข้าใจในความสามารถของระบบนั้น โดยเฉพาะในส่วนของซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมว่าแต่ละโปรแกรมมีความสามารถใดบ้าง เราอาจจะต้องทำการประเมินว่าโปรแกรมใดมีความเหมาะสมเพียงใด แล้วจึงเลือกโปรแกรมที่เห็นว่าเหมาะสมที่สุด
3) จัดหาเครื่องมือตามความต้องการของซอฟต์แวร์
     
4 ) การใช้งานโปรแกรม
   
รูปแบบการนำเสนอข้อมูลโดยใช้คอมพิวเตอร์ ปัจจุบันที่นิยมใช้กันมี 2 รูปแบบ คือ
1.  การนำเสนอแบบ Web page 
     เป็นรูปแบบการนำเสนอที่ใช้บนอินเทอร์เน็ต การนำเสนอแบบนี้สามารถสร้างการเชื่อมโยงที่สลับซับซ้อนระหว่างส่วนต่าง ๆ ตลอดจน สามารถสร้างการเชื่อมโยงเอกสารที่ต่างรูปแบบกันได้แต่ต้องใช้เวลาในการจัดทำมากกว่า รูปแบบอื่นและผู้จัดทำต้องมีความรู้ความชำนาญในโปรแกรมที่ใช้สร้างเว็บเพจ
2.  การนำเสนอแบบ Slide Presentation 
     เป็นการนำเสนอโดยใช้โปรแกรมนำเสนอ ซึ่งเป็นโปรแกรม ที่ใช้ง่ายมากมีรูปแบบการนำเสนอให้เลือกใช้หลายแบบ สามารถเรียกใช้ตาราง แผนภูมิ หรือรูปภาพประกอบ และตกแต่งด้วยสีสัน ทั้งสีพื้น สีของตัวอักษร รูปแบบฟอนต์ ของตัวอักษรได้ง่ายและสะดวก ในปัจจุบันสื่อนำเสนอรูปแบบ Slide Presentationหรือ สไลด์ดิจิทัล มักจะสร้างด้วยโปรแกรมในกลุ่ม Presentation เช่น Microsoft PowerPoint, 1. โพรเจกเตอร์ (Projector) เป็นอุปกรณ์ฉายภาพที่ใช้ในการนำเสนอ โดยสามารถรองรับสัญญาณภาพจากคอมพิวเตอร์ เครื่องเล่นวีซีดี เครื่องเล่นดีวีดี และเครื่องกำเนิดภาพอื่น ๆ แล้วแสดงผล ขยายขนาดบนจอรับภาพช่วยให้มองเห็นได้ไกลขึ้น เหมาะสำหรับการนำเสนอข้อมูลในห้องประชุม เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมสามารถมองเห็นภาพหรือข้อความได้อย่างชัดเจน

2. วิชวลไลเซอร์ (Visualizer) เป็นอุปกรณ์ฉายภาพระบบดิจิทัลประเภทหนึ่ง ซึ่งพัฒนามาจากโอเวอร์เฮดหรือเครื่องฉายข้ามศีรษะ ใช้แสดงภาพวัตถุและเอกสารสู่จอรับภาพที่มีอยู่จริงได้เลย โดยไม่ต้องดัดแปลง อุปกรณ์นี้เหมาะสำหรับใช้ในการนำเสนองานต่าง ๆ โดยเฉพาะครู-อาจารย์ที่สอนหนังสือ และใช้ได้ดีในการนำเสนอภาพนิ่งมากกว่าภาพเคลื่อนไหว แต่ภาพที่แสดงออกมานั้นก็ให้ความคมชัด มีสีสดใส และมีโหมดของการแสดงภาพให้ปรับการทำงานด้วย การควบคุมการทำงานสามารถทำได้โดยใช้รีโมต

3. กล้องถ่ายรูปดิจิทัล (Digital Camera) เป็นอุปกรณ์รับภาพที่เปลี่ยนจากฟิล์มมาเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเมื่อถ่ายรูปที่ต้องการแล้ว รูปจะถูกเก็บลงในหน่วยความจำ (memory) ที่อยู่ในกล้อง เมื่อต้องการดูรูปทำได้โดยการถ่ายข้อมูลจากหน่วยความจำลงบนเครื่องพิมพ์หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ ภาพที่ได้จะมีขนาดตามที่ต้องการ สามารถย่อหรือขยาย ปรับแสงหรือเงาแล้วแต่ความพอใจหรือจะเพิ่มรูปแบบก็สามารถทำได้ และเมื่อจะถ่ายใหม่ ก็สามารถใช้หน่วยความจำเดิมได้เลย โดยไม่ต้องเสียเงินซื้อฟิล์ม

4. กล้องถ่ายวีดิทัศน์ดิจิทัล เป็นอุปกรณ์รับภาพที่บันทึกข้อมูล ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียง เก็บไว้ในหน่วยความจำแบบแฟลชภายในกล้อง สามารถย่อหรือขยาย ปรับแสงเงาของภาพได้ และในปัจจุบันสามารถคัดลอกข้อมูลลงในแผ่นดีวีดีได้เลย โดยไม่ต้องโอนลงในเครื่องคอมพิวเตอร์

5. คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะและคอมพิวเตอร์ขนาดสมุดบันทึกหรือโน้ตบุ๊ก เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สร้างงานนำเสนอ เป็นสื่อกลางในการเชื่อมโยงอุปกรณ์อื่น ๆ เช่น โพรเจกเตอร์ เพื่อนำเสนองาน และใช้นำเสนองานผ่านจอภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์

6. เครื่องเล่นเสียง หรือเครื่องเล่นเอ็มพีสาม (MP3) เป็นอุปกรณ์ซึ่งบรรจุข้อมูลเสียงที่ใช้เล่นในคอมพิวเตอร์และสามารถถ่ายโอนข้อมูลเข้าไปในคอมพิวเตอร์ได้ โดยข้อมูลเสียงนั้นใช้เทคโนโลยีบีบอัดให้มีขนาดเล็กลงมากกว่าข้อมูลเสียงปกติถึง 12 เท่า แม้ขนาดข้อมูลจะเล็กลง แต่คุณภาพเสียงไม่ได้เสียไป อย่างไรก็ตาม หากเรานำข้อมูลเสียงจากเครื่องเล่น MP3 ไปเล่นในเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นเก่า จะได้เสียงในลักษณะกระตุกหรือใช้การไม่ได้เลย


7. โทรศัพท์เคลื่อนที่บางรุ่น เป็นอุปกรณ์ตัวกลางที่ผู้ใช้สามารถนำเสนองานที่สร้างด้วยซอฟต์แวร์ไมโครซอฟต์เพาเวอร์พอยต์ผ่านเครื่องโพรเจกเตอร์ได้สะดวก ง่ายต่อการติดตั้ง เพียงเชื่อมต่อโพรเจกเตอร์เข้ากับโทรศัพท์เคลื่อนที่ผ่านสายเคเบิล แล้วเชื่อมต่อโทรศัพท์เคลื่อนที่ด้วยบลูทูธImpress เทคนิคการออกแบบสื่อนำเสนอ สื่อนำเสนอที่ดี ความมีความโดดเด่น น่าสนใจ จะเน้นความคิด “ หนึ่งสไลด์ต่อ หนึ่งความคิด ” มีการสรุปประเด็น หรือสาระสำคัญโดยมีแนวทาง 3 ประการในการออกแบบ 
อุปกรณ์ดิจิทัลที่ช่วยในการนำเสนอผลงาน
อุปกรณ์ดิจิทัลที่สามารถถ่ายทอดภาพและเสียงในงานนำเสนอเพื่อให้งานนำเสนอมีคุณภาพ เข้าถึงผู้ชมและผู้ฟังได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีดังนี้

                     รูปภาพที่เกี่ยวข้อง


ขอบคุณที่มา  :   http://krusommawan.bps.in.th/index.php/use-it-for-presentation/sheet-unit2/54-sheet13-use-it-built-project


วันพุธที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2560

นำเสนอเทคโนโลยีการศึกษา

             นำเสนอเทคโนโลยีการศึกษา

เทคโนโลยีการศึกษา (อังกฤษEducational Technology) หรือ เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา เป็นศาสตร์ที่ประยุกต์ วิชาการต่างๆ มาจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล โดยการนำคำ “เทคโนโลยี” ซึ่งมีความหมายว่าเป็นศาสตร์แห่งวิธีการ ซึ่งไม่ได้มีความหมายว่าเป็นศาสตร์แห่งเครื่องมือเพียงอย่างเดียว แต่รวมถึงวัสดุและวิธีการ เมื่อนำมาใช้ กับ “การศึกษา” จึงเป็นคำใหม่ที่มีความหมายว่า การประยุกต์เครื่องมือ วัสดุและวิธีการไปส่งเสริม ประสิทธิภาพการเรียนรู้ รวมถึงการจัดสภาพแวดล้อมใหม่เพื่อการเรียนรู้ “สื่อสาร” เป็น กระบวนการถ่ายทอดข้อมูลข่าวสารจากผู้ส่งไปยังผู้รับ โดยอาศัยสื่อหรือช่องทางต่างๆ ให้เกิดความ เข้าใจและเป็นแบบปฏิสัมพันธ์

เทคโนโลยีการศึกษา[แก้]

เทคโนโลยีการศึกษา เน้นเรื่อง วิธีการ ระบบ และเครื่องมือ เพื่อนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน เทคโนโลยีการศึกษากับนวัตกรรมการศึกษาดูจะใกล้เคียงกันมาก เนื่องจากนวัตกรรมการศึกษา เป็นการนำเอาสิ่งใหม่ ๆ มาใช้ในการศึกษา ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่เป็นผลผลิตจากการพัฒนาของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงมีผู้เปรียบเทียบว่า ถ้านวัตกรรมการศึกษาเป็นหน่อไม้ เทคโนโลยีการศึกษาเปรียบเหมือนกอไผ่ ซึ่งรวมทั้งลำไผ่เดี่ยวๆ และกอไผ่ การเรียนการสอนเกี่ยวกับเทคโนโลยีการศึกษา ได้มีการเปิดสอนใน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่นมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยทักษิณ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีหน่วยงานที่ทำหน้าที่เทคโนโลยีการศึกษา ที่ใช้ชื่อ เทคโนโลยีทางการศึกษา ซึ่งไม่ว่าชื่อจะแตกต่างอย่างไร เนื้อหาของวิชาการเทคโนโลยีการศึกษาก็เป็นเนื้อหาเดียวกัน ปัจจุบันได้มีสถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่เปิดสอนสาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาในระดับปริญญาตรี ถึงปริญญาเอก ดังรายชื่อสาขา และสถาบันดังต่อไป

กฎหมายการศึกษา[แก้]

คำว่า "เทคโนโลยีการศึกษา" แม้มีใช้มานานในแวดวงวิชาการศึกษา แต่คำนี้ได้รับความสนใจมากขึ้น เมื่อ พรบ.การศึกษา พ.ศ. 2542 กล่าวถึงเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ในหมวด 9 โดยมี 7 มาตรา คือ มาตรา 63 - 69 มีเนื้อหาครอบคลุมเนื้อหาการนำคลื่นความถี่วิทยุและโทรทัศน์มาใช้เพื่อการศึกษา สื่อการเรียนการสอน [2] ซึ่งแม้ว่าใน พรบ.การศึกษาแห่งชาติ กล่าวถึง เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เพียงการนำสื่อสารมวลชนมาใช้เพื่อการศึกษา แต่ไม่ได้หมายความว่าเทคโนโลยีเพื่อการศึกษามีเพียงการนำสื่อสารมวลชนมาใช้เพื่อการศึกษาเท่านั้น พรบ.การศึกษาเขียนเพื่อเป็นหลักประกันหรือบังคับให้รัฐนำสื่อสารมวลชนมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการศึกษา

การวิจัยทางเทคโนโลยีการศึกษา[แก้]

ปัจจัยที่กำหนดทิศทาง
  • พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 หมวด 9 เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา? (ปัจจุบันฉบับที่ 3 พ.ศ. 2553 แต่ไม่มีการแก้ไขในหมวด 9 จึง พ.ศ 2542)
  • แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559)
  • กรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศระยะ พ.ศ. 2554-2563 ของประเทศไทย
  • แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ (พ.ศ. 2554 - 2569)
  • แผนแม่บทงานวิจัยในสาขาเทคโนโลยีการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษา
แนวโน้มการวิจัยทางเทคโนโลยีการศึกษา[3]
  • การวิจัยโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งความรู้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม
  • การวิจัยและพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา
  • การวิจัยและพัฒนาการบริหารจัดการศึกษา
  • การวิจัยเพื่อสืบค้นภูมิปัญญาท้องถิ่นและพัฒนานวัตกรรมเพื่อต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น
  • การออกแบบระบบการเรียนการสอน
  • การวิจัยและพัฒนาการจัดหาความรู้และสาระทางการศึกษา
  • การวิจัยและพัฒนาสื่อ
  • วิชาชีพ[แก้]

    การเรียนการสอนสาขาเทคโนโลยีการศึกษาในประเทศไทย ตั้งแต่ระดับปริญญาตรี จนถึงปริญญาเอก ผู้ที่จบทางสาขาเทคโนโลยีการศึกษา แล้วทำงานในวิชาชีพนี้เรียกว่า นักเทคโนโลยีการศึกษา ซึ่งเท่าที่พบในประเทศไทยนั้น มีมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย มีตำแหน่ง "นักเทคโนโลยีการศึกษา" ปรากฏอยู่ ส่วนตำแหน่งดั้งเดิมที่มีมานานแล้ว ได้แก่นักวิชาการโสตทัศนศึกษา พนักงานงานโสตทัศนศึกษา และ ผู้ปฏิบัติงานโสตทัศนศึกษา [4] ที่ทำหน้าที่เป็นนักเทคโนโลยีการศึกษา
  • สมาคมเทคโนโลยีศึกษาแห่งประเทศไทย[แก้]

    เป็นสมาคม ที่เกิดจากความร่วมมือของ สมาชิกในสถาบันต่างๆ สมาคมเดิมคือ สมาคมโสตฯเทคโนฯแห่งประเทศไทย 

    งานประชุมสัมมนาโสตฯเทคโนฯสัมพันธ์แห่งประเทศไทย[แก้]

       ความเป็นมาของการจัดงานโสตฯ เทคโนฯ สัมพันธ์แห่งประเทศไทย ได้  ริเริ่มขึ้นครั้งแรกเมื่อประมาณปี  พ.ศ. 2520 “จากการประสานพลังแนวคิด และพลังใจร่วมกันระหว่างนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา 2 สถาบัน
    ประกอบด้วยนิสิตระดับปริญญาโท สาขาเทคโนโลยีทางการศึกษา ภาควิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร และนิสิตระดับปริญญาโท สาขาวิชาโสตทัศนศึกษา แผนกวิชาโสตทัศนศึกษา (ปัจจุบัน คือ ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา) คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดังนั้นจึงใช้คำว่า “โสตฯ เทคโนฯ สัมพันธ์” ซึ่งมาจากคำว่าโสตทัศนศึกษา และ เทคโนโลยีทางการศึกษา[5] ความร่วมมือร่วมใจในการประสานพลังแนวคิดของทั้งสองสถาบันนั้นมีเจตนารมณ์ในการจัดงานดังนี้
                *1.สร้างพลังความสามัคคีในวิชาชีพเดียวกันระหว่างเทคโนโลยีทางการศึกษา และโสตทัศนศึกษา
                *2.สร้างความรักใคร่ สนิทสนม กลมเกลียวให้มีความใกล้ชิด คุ้นเคย และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน
                *3.สร้างพลังเครือข่ายทางวิชาชีพเทคโนโลยีทางการศึกษาให้มีมากขึ้น
  • ข้อมูลมาจาก https://th.wikipedia.org