นำเสนอเทคโนโลยีการศึกษา
เทคโนโลยีการศึกษา (อังกฤษ: Educational Technology) หรือ เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา เป็นศาสตร์ที่ประยุกต์ วิชาการต่างๆ มาจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล โดยการนำคำ “เทคโนโลยี” ซึ่งมีความหมายว่าเป็นศาสตร์แห่งวิธีการ ซึ่งไม่ได้มีความหมายว่าเป็นศาสตร์แห่งเครื่องมือเพียงอย่างเดียว แต่รวมถึงวัสดุและวิธีการ เมื่อนำมาใช้ กับ “การศึกษา” จึงเป็นคำใหม่ที่มีความหมายว่า การประยุกต์เครื่องมือ วัสดุและวิธีการไปส่งเสริม ประสิทธิภาพการเรียนรู้ รวมถึงการจัดสภาพแวดล้อมใหม่เพื่อการเรียนรู้ “สื่อสาร” เป็น กระบวนการถ่ายทอดข้อมูลข่าวสารจากผู้ส่งไปยังผู้รับ โดยอาศัยสื่อหรือช่องทางต่างๆ ให้เกิดความ เข้าใจและเป็นแบบปฏิสัมพันธ์
เทคโนโลยีการศึกษา[แก้]
เทคโนโลยีการศึกษา เน้นเรื่อง วิธีการ ระบบ และเครื่องมือ เพื่อนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน เทคโนโลยีการศึกษากับนวัตกรรมการศึกษาดูจะใกล้เคียงกันมาก เนื่องจากนวัตกรรมการศึกษา เป็นการนำเอาสิ่งใหม่ ๆ มาใช้ในการศึกษา ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่เป็นผลผลิตจากการพัฒนาของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงมีผู้เปรียบเทียบว่า ถ้านวัตกรรมการศึกษาเป็นหน่อไม้ เทคโนโลยีการศึกษาเปรียบเหมือนกอไผ่ ซึ่งรวมทั้งลำไผ่เดี่ยวๆ และกอไผ่ การเรียนการสอนเกี่ยวกับเทคโนโลยีการศึกษา ได้มีการเปิดสอนใน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่นมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยทักษิณ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีหน่วยงานที่ทำหน้าที่เทคโนโลยีการศึกษา ที่ใช้ชื่อ เทคโนโลยีทางการศึกษา ซึ่งไม่ว่าชื่อจะแตกต่างอย่างไร เนื้อหาของวิชาการเทคโนโลยีการศึกษาก็เป็นเนื้อหาเดียวกัน ปัจจุบันได้มีสถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่เปิดสอนสาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาในระดับปริญญาตรี ถึงปริญญาเอก ดังรายชื่อสาขา และสถาบันดังต่อไป
กฎหมายการศึกษา[แก้]
คำว่า "เทคโนโลยีการศึกษา" แม้มีใช้มานานในแวดวงวิชาการศึกษา แต่คำนี้ได้รับความสนใจมากขึ้น เมื่อ พรบ.การศึกษา พ.ศ. 2542 กล่าวถึงเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ในหมวด 9 โดยมี 7 มาตรา คือ มาตรา 63 - 69 มีเนื้อหาครอบคลุมเนื้อหาการนำคลื่นความถี่วิทยุและโทรทัศน์มาใช้เพื่อการศึกษา สื่อการเรียนการสอน [2] ซึ่งแม้ว่าใน พรบ.การศึกษาแห่งชาติ กล่าวถึง เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เพียงการนำสื่อสารมวลชนมาใช้เพื่อการศึกษา แต่ไม่ได้หมายความว่าเทคโนโลยีเพื่อการศึกษามีเพียงการนำสื่อสารมวลชนมาใช้เพื่อการศึกษาเท่านั้น พรบ.การศึกษาเขียนเพื่อเป็นหลักประกันหรือบังคับให้รัฐนำสื่อสารมวลชนมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการศึกษา
การวิจัยทางเทคโนโลยีการศึกษา[แก้]
ปัจจัยที่กำหนดทิศทาง
- พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 หมวด 9 เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา? (ปัจจุบันฉบับที่ 3 พ.ศ. 2553 แต่ไม่มีการแก้ไขในหมวด 9 จึง พ.ศ 2542)
- แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559)
- กรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศระยะ พ.ศ. 2554-2563 ของประเทศไทย
- แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ (พ.ศ. 2554 - 2569)
- แผนแม่บทงานวิจัยในสาขาเทคโนโลยีการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษา
แนวโน้มการวิจัยทางเทคโนโลยีการศึกษา[3]
- การวิจัยโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งความรู้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม
- การวิจัยและพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา
- การวิจัยและพัฒนาการบริหารจัดการศึกษา
- การวิจัยเพื่อสืบค้นภูมิปัญญาท้องถิ่นและพัฒนานวัตกรรมเพื่อต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น
- การออกแบบระบบการเรียนการสอน
- การวิจัยและพัฒนาการจัดหาความรู้และสาระทางการศึกษา
- การวิจัยและพัฒนาสื่อ
วิชาชีพ[แก้]
การเรียนการสอนสาขาเทคโนโลยีการศึกษาในประเทศไทย ตั้งแต่ระดับปริญญาตรี จนถึงปริญญาเอก ผู้ที่จบทางสาขาเทคโนโลยีการศึกษา แล้วทำงานในวิชาชีพนี้เรียกว่า นักเทคโนโลยีการศึกษา ซึ่งเท่าที่พบในประเทศไทยนั้น มีมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย มีตำแหน่ง "นักเทคโนโลยีการศึกษา" ปรากฏอยู่ ส่วนตำแหน่งดั้งเดิมที่มีมานานแล้ว ได้แก่นักวิชาการโสตทัศนศึกษา พนักงานงานโสตทัศนศึกษา และ ผู้ปฏิบัติงานโสตทัศนศึกษา [4] ที่ทำหน้าที่เป็นนักเทคโนโลยีการศึกษาสมาคมเทคโนโลยีศึกษาแห่งประเทศไทย[แก้]
เป็นสมาคม ที่เกิดจากความร่วมมือของ สมาชิกในสถาบันต่างๆ สมาคมเดิมคือ สมาคมโสตฯเทคโนฯแห่งประเทศไทยงานประชุมสัมมนาโสตฯเทคโนฯสัมพันธ์แห่งประเทศไทย[แก้]
ความเป็นมาของการจัดงานโสตฯ เทคโนฯ สัมพันธ์แห่งประเทศไทย ได้ ริเริ่มขึ้นครั้งแรกเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2520 “จากการประสานพลังแนวคิด และพลังใจร่วมกันระหว่างนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา 2 สถาบัน”
ประกอบด้วยนิสิตระดับปริญญาโท สาขาเทคโนโลยีทางการศึกษา ภาควิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร และนิสิตระดับปริญญาโท สาขาวิชาโสตทัศนศึกษา แผนกวิชาโสตทัศนศึกษา (ปัจจุบัน คือ ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา) คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดังนั้นจึงใช้คำว่า “โสตฯ เทคโนฯ สัมพันธ์” ซึ่งมาจากคำว่าโสตทัศนศึกษา และ เทคโนโลยีทางการศึกษา[5] ความร่วมมือร่วมใจในการประสานพลังแนวคิดของทั้งสองสถาบันนั้นมีเจตนารมณ์ในการจัดงานดังนี้*1.สร้างพลังความสามัคคีในวิชาชีพเดียวกันระหว่างเทคโนโลยีทางการศึกษา และโสตทัศนศึกษา *2.สร้างความรักใคร่ สนิทสนม กลมเกลียวให้มีความใกล้ชิด คุ้นเคย และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน *3.สร้างพลังเครือข่ายทางวิชาชีพเทคโนโลยีทางการศึกษาให้มีมากขึ้น
ข้อมูลมาจาก https://th.wikipedia.org
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น