วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2560

วัตถุโบราณ




                                ความหมายและความเป็นมาของคำว่า “โบราณวัตถุ” 
คำว่า “โบราณวัตถุ” ถือได้ว่าเป็นคำที่อยู่ควบคู่กับคำว่าโบราณสถานเสมอ ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2493 ได้ให้ความหมายของคำว่าโบราณวัตถุ ไว้ว่าหมายถึง “ของโบราณ” แต่ความหมายดังกล่าวก็เปลี่ยนไปตามที่ปรากฏในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้ความหมายไว้ว่า “สิ่งของโบราณที่เคลื่อนที่ได้ เช่น พระพุทธรูป เทวรูป ศิลาจารึก มีอายุเก่ากว่า 100 ปี ขึ้นไป “ พร้อมทั้งให้ความหมายทางกฎหมายไว้ด้วยว่า “สังหาริมทรัพย์ที่เป็นของโบราณ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งประดิษฐ์ หรือเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ หรือที่เป็นส่วนหนึ่งส่วนใดของโบราณสถาน ซากมนุษย์ หรือซากสัตว์ ซึ่งโดยอายุหรือโดยลักษณะแห่งการประดิษฐ์ หรือโดยหลักฐานเกี่ยวกับประวัติของสังหาริมทรัพย์นั้นเป็นประโยชน์ ในทางศิลป ประวัติศาสตร์ หรือโบราณคดี” ซึ่งความหมายดังกล่าวก็ยังใช้อยู่ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542

เมื่อเปรียบเทียบความหมายของคำว่าโบราณวัตถุตามพจนานุกรมแล้วจะเห็นวิวัฒนาการของคำนี้อย่างหนึ่งว่าในปี พ.ศ. 2525 ได้นำเรื่องการเคลื่อนที่ได้หรือไม่ และสิ่งของต้องมีอายุเก่ากว่า 100 ปีขึ้นไป มาเป็นเกณฑ์พิจารณาว่าสิ่งใดคือโบราณวัตถุ ซึ่งหลักการดังกล่าวสอดคล้องกับความหมายของคำว่าโบราณสถานที่ต้องเป็นสิ่งที่เคลื่อนที่ไม่ได้ มีอายุเก่ากว่า 100 ปีขึ้นไป เช่นเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีการให้ความหมายในทางกฎหมายไว้ในพจนานุกรมอีกด้วย

สำหรับคำจำกัดความเฉพาะที่ใช้ในบทบัญญัติของกฎหมายปรากฏนิยามคำว่า “โบราณวัตถุ” ครั้งแรกในพระราชบัญญัติว่าด้วยการส่งโบราณและศิลปวัตถุออกนอกประเทศ พุทธศักราช 2469 ซึ่งให้หมายความว่า “สังหาริมทรัพย์โบราณอย่างหนึ่งอย่างใดจะเป็นของเกิดในประเทศนี้เองก็ดี ฤาได้มาจากประเทศอื่นก็ดี ซึ่งเป็นประโยชน์ให้ความรู้ฤาประโยชน์แก่การศึกษาในทางพงศาวดารและโบราณคดี” ก่อนหน้านี้มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับโบราณวัตถุแต่ยังมิได้ใช้คำว่าโบราณวัตถุโดยตรงแต่ใช้คำว่าของโบราณ

ทั้งนี้ ตามที่ปรากฏในประกาศจัดการตรวจรักษาของโบราณ พุทธศักราช 2466 ต่อมามีการบัญญัตินิยามคำว่าโบราณวัตถุใหม่โดยพระราชบัญญัติว่าด้วยโบราณสถาน ศิลปวัตถุ โบราณวัตถุ และการพิพิธภัณฑ์แห่งชาติ พุทธศักราช 2477 ได้นิยามคำว่าโบราณวัตถุไว้ หมายความว่า “ของโบราณอย่างหนึ่งอย่างใด จะเป็นของเกิดในประเทศสยามหรือต่างประเทศก็ดี ซึ่งให้ความรู้หรือเป็นประโยชน์แก่การศึกษาในทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี” และในปี พ.ศ. 2504 นิยามคำว่า “โบราณวัตถุ” ก็มีการเปลี่ยนแปลงอีกครั้งหนึ่ง โดยพระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 ได้กำหนดให้หมายความว่า “สังหาริมทรัพย์ที่เป็นของโบราณ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งประดิษฐ์หรือเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ หรือที่เป็นส่วนหนึ่งส่วนใดของโบราณสถาน ซากมนุษย์หรือ ซากสัตว์ ซึ่งโดยอายุหรือโดยลักษณะแห่งการประดิษฐ์หรือโดยหลักฐานเกี่ยวกับประวัติของสังหาริมทรัพย์นั้นเป็นประโยชน์ในทางศิลป ประวัติศาสตร์หรือโบราณคดี” ซึ่งเป็นความหมายที่ใช้มาจนกระทั่งปัจจุบันนี้

ความหมายของคำว่า “โบราณวัตถุ” มีส่วนคล้ายคลึงกับคำว่า “โบราณสถาน” ตรงที่มุ่งไปที่ศาสตร์ด้านศิลป ประวัติศาสตร์ หรือโบราณคดี แต่ที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนก็คือ “โบราณสถาน” กฎหมายกำหนดไว้ว่าเป็นอสังหาริมทรัพย์ ส่วน “โบราณวัตถุ” นั้นกฎหมายกำหนดว่าเป็นสังหาริมทรัพย์ ดังนั้น ของบางอย่างแม้เดิมเคยเป็นส่วนหนึ่งส่วนใดของโบราณสถานแต่เมื่อหลุดหรือแยกจากโบราณสถาน ก็อาจจะกลายเป็นโบราณวัตถุได้
 ในยุคที่ความเจริญทางเทคโนโลยีดำเนินไปอย่างไม่มีวันจบสิ้น เครื่องใช้บางอย่างซื้อมาได้เพียงไม่กี่เดือนก็เริ่มจะกลายเป็นของเก่า เพราะมีสินค้ารุ่นใหม่ออกมาแทนที่ อย่างเช่นโทรศัพท์พึ่งซื้อมาใช้งานได้เพียงไม่กี่เดือนก็มีรุ่นใหม่ออกมาแทนที่แล้ว ทั้งๆที่เครื่องเก่าก็ยังพอใช้งานได้ แต่กลับกลายเป็นสิ่งที่กำลังล้าสมัย  ในขณะที่สิ่งของบางอย่างยิ่งมีอายุมาก ยิ่งเก่าแก่มากเท่าไหร่กลับยิ่งมีคุณค่า เชนโบราณวัตถุ โบราณสถานเป็นต้นยิ่งเก่ายิ่งมีคุณค่า บางอย่างประเมินค่ามิได้
          ช่วงหลังๆมานี้เริ่มให้ความสนใจกับการชมโบราณวัตถุ โบราณสถานมากขึ้น ไม่รู้ว่าเพราะอายุมากขึ้นหรือว่าเพราะว่าเริ่มเดินทางไกลไปมาหลายที่ สิ่งที่พบเห็นและมักจะเป็นสิ่งที่เชิดชูและสะท้อนความเป็นเอกลักษณ์ของชาติบ้านเมืองมักจะเป็นวัตถุโบราณ ยิ่งมีอายุมากเท่าไหร่ยิ่งมีคุณค่ามาก และราคาก็มากขึ้นตามไปด้วย บางครั้งเดินทางไกลหลายพันไมล์เพื่อต้องการจะไปดูวัตถุโบราณ ซึ่งเป็นของหายาก มีคุณค่าทางศิลปะสะท้อนถึงวัฒนธรรมของชาติในอดีต คนเริ่มแก่ก็ยิ่งชอบของเก่า คนแก่จึงเป็นเหมือนวัตถุโบราณในสังคมแห่งความเจริญทางเทคโนโลยี
          ประเทศไทยหากนับโดยความเป็นประเทศชาติน่าจะเริ่มต้นที่อาณาจักรสุโขทัยซึ่งมีอายุประมาณ 700 กว่าปีมาแล้ว แต่ทว่าหากจะนับถึงความเป็นพื้นที่โดยไม่มีความเป็นชาติเข้ามาเกี่ยวข้องแล้ว ก็ต้องมีอายุหลายพันปี เช่นแหล่งโบราณบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี มีอายุเจ็ดพันปี ยังมีอีกหลายแห่งที่มีการสร้างศิลปะไว้ตั้งแต่อาณาจักรทวารวดี ศรีวิชัย เชียงแสน เจนละ ลพบุรี เป็นต้น นั่นก็มีอายุหลายพันปี

 โบราณสถาน โบราณวัตถุ ยังมีปรากฏหลักฐานให้สืบค้นได้ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พระนคร ได้จัดนิทรรศการแสดงโบราณวัตถุขึ้น ในช่วงเดือนตุลาคม 2558 มีคนมาชวนไปเยี่ยมชมแบบไม่เป็นทางการ นัยว่าเพื่อศึกษาศิลปวัตถุที่นำมาจากทั่วทุกภาคของประเทศไทย จัดแสดงให้ประชาชนได้ศึกษาถึงศิลปะเหล่านั้น
          หลายวันก่อนออกเดินทางได้ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับเรื้องโบราณบ้าง เพราะเกิดความสงสัยว่าคำว่า “โบราณวัตถุและโบราณสถาน” มันคืออะไรกันแน่
          คำว่า “โบราณวัตถุ” มักจะเป็นคำที่ใช้ควบคู่กับคำว่าโบราณสถาน ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2493 ได้ให้ความหมายของคำว่าโบราณวัตถุ ไว้ว่าหมายถึง “ของโบราณ”(พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2493, ราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3 2502 หน้า 551.) แต่ความหมายดังกล่าวก็เปลี่ยนไปตามที่ปรากฏในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้ความหมายไว้ว่า “สิ่งของโบราณที่เคลื่อนที่ได้ เช่น พระพุทธรูป เทวรูป ศิลาจารึก มีอายุเก่ากว่า 100 ปี ขึ้นไป (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525, ราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 5 2538 หน้า 491) “ พร้อมทั้งให้ความหมายทางกฎหมายไว้ด้วยว่า “สังหาริมทรัพย์ที่เป็นของโบราณ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งประดิษฐ์ หรือเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ หรือที่เป็นส่วนหนึ่งส่วนใดของโบราณสถาน ซากมนุษย์ หรือซากสัตว์ ซึ่งโดยอายุหรือโดยลักษณะแห่งการประดิษฐ์ หรือโดยหลักฐานเกี่ยวกับประวัติของสังหาริมทรัพย์นั้นเป็นประโยชน์ในทางศิลป ประวัติศาสตร์ หรือโบราณคดี” ซึ่งความหมายดังกล่าวก็ยังใช้อยู่ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542, ราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 1 2546 หน้า 642)



                                                          ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เนื้อหาวัตถุโบราณ



เนื้อหาแหล่งที่มา /https://janthimablog.wordpress.com











































































ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น